วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

::: เครื่อง CT SCAN :::



เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography or CT Scan) เป็นเครื่องมือที่ช่วยแพทย์ค้นหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะฉายรังสี X รอบๆ ร่างกายเรา ซึ่งต่างจากเครื่องเอกซเรย์ธรรมดาที่ทำการฉายรังสีร่างกายเพียงด้านใดด้าน หนึ่ง เมื่อเครื่องหมุน 1 รอบ รังสี X ที่ทะลุผ่านร่างกายจะทำการบันทึกภาพอวัยวะภายในไว้เป็นจำนวนมาก จากนั้นจึงนำภาพที่ได้มาสร้างเป็นภาพ 3 มิติ ที่มีรายละเอียดชัดเจน เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะช่วยให้แพทย์ตรวจพบว่าผิดปกติในร่างกายที่ เครื่องเอกซเรย์ธรรมดาไม่สามารถตรวจพบได้ เช่น เซลล์มะเร็ง หรือเนื้องอก จึงช่วยให้แพทย์สามารถวินิฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น





CT Scanner How it Works





ไฟล์:CtOrthor.gifเครื่อง CT สแกนจะประกอบไปด้วยวงแหวนขนาดใหญ่ และมีเตียงวางผู้ป่วยอยู่ตรงกลาง หลอดกำเนิดรังสีเอกซ์หลายชุดจะวางเรียงกันบนวงแหวน และมีหัววัดรังสีเอกซ์วาง อยู่ด้านตรงข้ามอีกด้านหนึ่งของผู้ป่วย ลำแสงรังสีเอกซ์รูปพัดจะถูกปล่อยออกมาขณะที่หลอดเอกซเรย์ และหัววัดถูกหมุน ไปรอบ ๆ ตัวผู้ป่วยที่นอนนิ่งอยู่ตรงกลาง เป็นการเก็บภาพเอกซเรย์จากมุมที่แตกต่างกันรอบร่างกายของผู้ป่วย เมื่อการหมุนแต่ละรอบเสร็จสิ้น ภาพตัดขวางหนึ่งภาพก็จะถูกสร้างขึ้น ซึ่งในการสแกนด้วยเครื่องซีทีจะไม่มีการบันทึก ภาพที่ได้แต่ละภาพลงบนแผ่นฟิล์ม แต่จะนำภาพเหล่านี้มาสร้างเป็นภาพตัดขวาง 2 มิติโดยใช้คอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้ จะถูกเรียกว่าtomogram และเมื่อเอาภาพตัดขวางเหล่านี้หลาย ๆ ชิ้นมาวางซ้อนกันก็จะสามารถสร้างภาพ 3 มิติ ของโครงสร้างร่างกายและอวัยวะภายในได้ ดังนั้น CT scan จึงหมายถึง การบันทึกภาพตัดขวางของร่างกายในระดับที่ ต่างกันนั่นเอง หากยังจินตนาการไม่ออก ก็ให้ลองนึกถึงขนมปังลูกเกดที่ถูกหั่นเป็นแถว ๆ เมื่อเราดึงขนมปังออกมาเพียง หนึ่งแผ่น ก็จะเห็นว่ามีลูกเกดติดอยู่บริเวณใดบ้างบนแผ่นขนมปังนั้น


ราคา : เครื่องประมาณ 10 ล้านบาท

ประโยชน์ของ CT SCAN
ด้วยความสามารถในการสร้างภาพที่มีส่วนประกอบของเนื้อเยื่อ กระดูก และระบบหลอดเลือดอยู่รวมกัน จึงทำให้ CT scan มีความสำคัญในการวินิจฉัยโรค และให้รายละเอียดแก่แพทย์ได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด โรคกระดูก การได้รับอุบัติเหตุ และการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง ซึ่งนอกจากการใช้งานทางการแพทย์แล้ว CT scan ยังสามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ โดยไม่ทำลาย(nondestructive materials testing) ตัวอย่างเช่น โครงการ DigiMorph ของมหาวิทยาลัยเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่อง CT scan ในการศึกษาตัวอย่างทางชีววิทยาและธรณีวิทยา เช่น ซากฟอสซิลและหิน นอกจากนี้ ที่น่าสนใจไม่น้อยคือการใช้ศึกษามัมมี่เพื่อจำลองรูปหน้าจากโครงกะโหลกศีรษะ  



โทษของ CT SCAN
หากพิจารณาในมุมกลับกัน ความเสี่ยงนี้อาจจะไม่มาก หากผู้ป่วยนั้นกำลังมีอาการเจ็บป่วยร้ายแรงหรืออยู่ในระยะที่อาจ ถึงแก่ชีวิตได้ทุกเมื่อและจำเป็นต้องทำ CT scan ในอวัยวะที่ต้องการจริง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลมาประกอบการรักษาหรือ หาทางช่วยชีวิต เช่น การได้รับอุบัติเหตุรุนแรงที่ศีรษะ หรือการตรวจดูการแพร่กระจายของมะเร็งในช่องท้อง แต่การทำ CT scan ทั่วร่างกายเพื่อค้นหาสาเหตุของโรคที่อาจหลบซ่อนหรือค้นหามะเร็งในระยะแรกเริ่มในบุคคลที่ยังมีสุขภาพดีอยู่ อาจเกิดผลเสียมากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ ยิ่งได้รับการสแกนบ่อยครั้งเท่าไร ความเสี่ยงระยะยาวในอนาคตในการเกิด โรคมะเร็งจากการได้รับรังสีก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการทำ CT scan ก็ต้องตัดสินใจกันเอาเองว่าความเสี่ยงอันไหน มีมากกว่ากัน ระหว่างโรคที่กำลังเป็นอยู่ หรือโรคมะเร็งที่อาจเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ในอีก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า และมะเร็งที่เกิดขึ้นอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการทำ CT scan ที่ผ่านมาเลยก็ได้ ในอีกแง่หนึ่งหากความเสี่ยงนี้มีจริง บริษัทประกันชีวิตและสุขภาพคงต้องคิดหนักถึงภาระที่ต้องรับผิดชอบในอนาคต ซึ่งผู้ที่ต้องทำ CT scan ควรจะได้ทราบข้อมูลเหล่านี้เอาไว้



cone beam CT 



โคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีเป็นวิธีการถ่ายภาพรังสีวิธีหนึ่ง ภาพรังสีที่ได้สามารถแสดงความสัมพันธ์ของโครงสร้างที่ต้องการศึกษาได้ในทั้ง 3 ระนาบและสามารถนำไปสร้างเป็นภาพ 3 มิติในขณะที่ภาพรังสีโดยทั่วไปไม่สามารถทำได้ภาพรังสี 





3D Cone Beam CT Scan










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น